วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

การเสริมทักษะอื่นให้กับเด็กอนุบาล

                 การเสริมทักษะอื่นให้กับเด็กอนุบาล
             การเสริมทักษะในด้านต่างๆนอกจากด้านการศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับในปัจจุบัน เพื่อที่จะทำให้เด็กๆมีความสามารถหลากหลาย หรือเป็นการสนับสนุนสิ่งที่เด็กชอบหรือถนัด เช่น การวาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง รำไทย เป็นต้น และยังมีสิ่งที่ช่วยเสริมทักษะด้านร่างกายสำหรับเด็กเล็ก เด็กอนุบาล นั่นคือการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาส่วนใหญ่ควรจะต้องฝึกฝนตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เช่น กอล์ฟ ฟุตบอล ยิมนาสติก ว่ายน้ำ โดยเฉพาะกีฬาว่ายน้ำนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะทำให้เด็กๆสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
1. การร้องเพลงและเคลื่อนไหวเข้าจังหวะ
การร้องเพลงเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในการเสริมทักษะให้กับเด็ก นอกจากจะทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกการออกเสียง การอ่านให้กับเด็กได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะแทรกหรือเสริมคำศัพท์ คำอธิบาย เกี่ยวกับเนื้อเพลงที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็ก อีกทั้งยังสามารถฝึกให้เด็กสามารถออกเสียง หรือสะกดคำให้ถูกต้อง ซึ่งการเสริมความรู้นี้ เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัติ
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกเพลงที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก เช่น เพลงเกี่ยวกับตัวอักษร เพลงเกี่ยวกับคำศัพท์ไทยหรืออังกฤษ เพลงเกี่ยวกับตัวเลข สูตรคูณ เพลงเกี่ยวกับสี เพลงเกี่ยวกับวันในสัปดาห์ เพลงเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กทั้งในการออกเสียง และยังเป็นการเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในชั้นเรียนอีกด้วย
การร้องเพลงยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จับบังคับให้ออกเสียงไปตามทำนองที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิของเด็กเองในทางอ้อม และยังสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกให้กับเด็กอีกด้วย
การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะหรือการเต้นรำ ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งควรทำประกอบกับการร้องเพลง ทำให้เด็กมีความสนุกสนามมากขึ้น และยังเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะ ยังสอนให้เด็กพัฒนาการควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งสมองและกล้ามเนื้อ และมีหลายๆเพลงที่สอนให้เด็กเคลื่อนไหว เช่น หันไปทางขวาและทางซ้าย ชูมือขึ้นและหมุน ปรบมือเป็นจังหวะ หรือแม้กระทั้งการเต้นเป็นทีมประกอบเพลง
2. การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
การเล่นกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาร่างกายทุกส่วน การได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่เหมาะสม จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายภาพที่ดีในอนาคต และเป็นส่วนช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น เพราะร่างกายแข้งแรง ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้
อีกทั้งการเล่นกีฬายังอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ค้นพบความสามารถพิเศษของเด็ก ซึ่งควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ต้องเริ่มเล่นกีฬามาตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ไทเกอร์ วูดส์ ภารดร หรือ แทมมี่
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกีฬาบางอย่างอาจจะต้องอาศัยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง หรือมีการกระแทกมากเกินไป กีฬาบางชนิดอาจจะต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิด จากคุณพ่อคุณแม่ เช่น การขี่จักรยาน กีฬาว่ายน้ำ
เกมที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นเกมง่ายๆธรรมดา เช่น เกมฝึกสมอง เกมกระดาน หรือเกมสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก การเล่นเป็นหมอและนางพยาบาล แน่นอนว่าเกมฝึกสมองต่างๆ และเกมกระดาน เช่น หมากฮอลส์ เกมเศรษฐี เหล่านี้จะเป็นการเสริมการพัฒนาการของเด็ก ทั้งในเรื่องความคิด ทักษะการคิดเลข การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เล่นเกม ความอดทนรอคอย
ส่วนเกมที่เป็นบทบาทสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก ก็เป็นการเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะพบความคิดของเด็ก ที่มีต่อครอบครัว หรือปัญหาต่างๆในใจของเด็ก จากการเล่นเกมสมมตินี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นเกมเหล่านี้กับลูกของท่าน เพื่อที่จะสอดแทรกบทเรียนจากชีวิตจริงลงไป เช่น การเล่นพ่อแม่ลูก เราสามารถที่จะสอดแทรกหน้าที่ของคุณพ่อ หน้าที่ของคุณแม่ และหน้าที่ของคุณลูกที่ควรจะทำ เพื่อให้ครอบครัวมีความสุข การเล่นขายของเรายังสามารถสอนให้เด็กรู้จักการทำงาน ขยันทำงาน รู้จักค่าของเงินที่ได้มาจากการทำงาน
3. การวาดรูป ระบายสี
การวาดรูป ระบายสีเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยในการพัฒนาการทางด้านจินตนาการของเด็ก อย่างที่เราทราบกันว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของความคิดที่เป็นเหตุผม (Logic) และส่วนที่เป็นความคิดทางด้านจินตนาการ (Imgaination) การวาดรูป ระบายสีก็จะทำให้เด็กสามารถแสดงจินตนาการออกมา คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าจินตนาการของเด็กจะกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง การเปิดโอกาสให้เด็กวาดรูป ยังสามารถศึกษาว่าเด็กมีความคิดอย่างไร นักจิตวิทยายังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็ก ผ่านจากรูปที่เด็กวาดออกมาจากจินตนการ
ยิ่งไปกว่านั้นคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสอดแทรกความรู้ต่างๆได้ในการวาดรูป เช่น การแยกแยะสี เช่นสีไหนคือสีแดง สีไหนคือสีเขียว ความรู้ด้านรูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ข้อดีอีกย่างหนึ่งของการวาดรูป ระบายสี คือจะสร้างให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ดินสอ การเขียน การควบคุมมือ ควบคุมดินสอให้วาดสิ่งต่างๆตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับทักษะการเขียนในอนาคต
ตัวอย่างโปรแกรมช่วยส่งเสริมความฉลาดระดับอนุบาล





แหล่งข้อมูล somkidful.(8/11/2552)โปรแกรมเสริมทักษะระดับอนุบาล.[Online] Available :
http://www.youtube.com/watch?v=uun3UfImOCE. Accessed[24/9/2554].

การเสริมทักษะอื่นให้กับเด็กอนุบาล.[Online] Available :
http://www.thaidaddy.com/Thai-Kid-School-Activity.html. Accessed[24/9/2554].


วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็ก



การจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็ก
หลักการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ประโยชน์แก่เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสม ในการจัดการที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลัก
1. การจัดอาหารที่มีประโยชน์
2. เป็นอาหารที่มีคุณค่า
3. การจัดอาหารที่ประหยัด
นอกจากนี้ควรศึกษาและเข้าใจในสาระสำคัญใน ด้าน การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการจัดอาหารสำหรับเด็กเมื่อมาอยู่ในสถานศึกษา คือ อาหารหลัก 1 มื้อ และอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่มในตอนเช้าและบ่ายอีก 2 มื้อ รวมเป็น 3 มื้อ อาจแยกได้ ดังนี้
1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณ ค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวกของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียว ที่มี ความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการ และเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว ซึ่งจะอยู่ ในลักษณะอาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัด เวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก
ข้อดี ของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสีย เวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่อง มือ เครื่องใช้น้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากิน โดยยังคงคุณค่า
                2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่มใช้สำหรับ เสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเช้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อ เสริมอันเกิดจากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไป ก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่ายหาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคู ไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะ ต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้ วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติม ที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในแต่ ละวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็น ซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ที่ไม่มี คุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจากอาหารเหล่านี้ เมื่อ กินสะสมเป็นเวลานานๆ
                3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหาร หลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือก ขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย อาทิ เช่น ของหวาน ระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือก ถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดใน ถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก
แหล่ข้อมูลสุวัฒน์ ธรรมสุนทร.การจัดเตรียมอาหารสำหรับเด็ก. [Online] Available :
http://www.northeducation.ac.th/elearning/ed_child/chap04/4_31_4.html.Accessed[20/9/2554].




การดื่มนม

ปริมาณในการดื่มนม
วัยเด็ก (อายุ 1-12 ปี) ควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว
วัยหนุ่มสาว (13-25 ปี) ควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 4 แก้ว
ผู้ใหญ่ (25 ปีขึ้นไป) ควรดื่มนมไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว (นม 1 แก้ว ปริมาณ 200 ซีซี (ขนาดเท่านมขวดเล็ก)
โดยเฉลี่ยแล้วทุกคนควรดื่มไม่น้อยกว่าวันละ 2 แก้ว แต่ถ้าเป็นสตรีมีครรภ์ หรือหลังคลอดบุตรควรดื่มไม่น้อยกว่าวันละ 3 แก้ว
ประโยชน์ของนม
น้ำนมดิบมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ประกอบไปด้วย โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ คาร์โบไฮเดรต และ ไขมัน ร่างกายสามารถนำสารอาหารจากน้ำนมไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโต ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ที่สำคัญอย่างยิ่งคือนมมีแร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยสร้างกระดูกและฟัน นมจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาร่างกายและสมองของเด็ก
โปรตีน ในน้ำนมเกือบทั้งหมดประกอบด้วยสารอาหารโปรตีน ที่เรียกว่า เคซีน , โกลบูลิน, อัลบูมิน และมีกรดอะมิโนอยู่ 19 ชนิด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสร้างเนื้อเยื่อ เลือด กระดูก และเอนไซม์ชนิดต่าง ๆ ในน้ำนมมีน้ำตาลที่มีชื่อว่า แล็คโตส (Lactose) ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง และ ที่น่าสนใจคือโปรตีนที่เรียกว่า เคซีน (Casein) จะพบในธรรมชาติคือในน้ำนมเท่านั้น
วิตามิน วิตามินเอ มีหน้าที่สำคัญต่อระบบสายตา , วิตามินบี B1 ช่วยในการทำงานของระบบประสาท หัวใจ และระบบขับถ่าย , B2 ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และผิวหนัง , B6 ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็ก , B12 สร้างเซลล์ในโพรงกระดูก และเม็ดเลือดแดง วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง สร้างภูมิป้องกันต้านทานโรค และทำลายสารพิษต่าง ๆ วิตามินดี ก่อให้เกิดการป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และลดไขมันในเส้นเลือด
เกลือแร่ ในน้ำนมประกอบด้วยเกลือแร่หลายชนิด คือแคลเซียม เป็นสารอาหารจำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน (เสริมสร้างในวัยเด็กและซ่อมแซมในวัยผู้ใหญ่) , ฟอสฟอรัส ทำงานร่วมกับแคลเซียม , โปตัสเซียม ควบคุมความสมดุลของเซลล์เกี่ยวกับความดันโลหิต นอกจากนี้ยังมี โซเดียม แมกนีเซียม และเหล็ก
ไขมัน ปกติเราเรียกไขมันจากน้ำนมว่า "มันเนย" เป็นส่วนที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย (แต่นมจะให้ไขมันเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับขนมปัง นมถั่วเหลือง หรือเนื้อ)
แหล่ข้อมูล CPMeiji.(2010).ปริมาณในการดื่มนม.[Online] Available :
       http://www.cpmeiji.com/content/view/31 .Accessed[15/9/2554].


การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็ก

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย
พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกเติบโตเป็นคนดี ฉลาด มีความสุขประสบความสำเร็จในการศึกษาและหน้าที่การงาน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น นอกจากจะมีความฉลาดทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ด้วย
      IQ = Inteligence quotient หมายถึงความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-100 เป็นการวัดความสามารถทางคิด วิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆเช่น ความคิดสร้างสรรค์ ,ทักษะต่างๆในการทำงาน, ทักษะชีวิตประจำวันฯลฯ
การพัฒนา IQ  
         • 50% จากกรรมพันธุ์
         • 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน       อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ ,     ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
EQ = Emotional quotient คือความฉลาดทางอารมณ์
  การพัฒนา EQ คือ
รู้อารมณ์ของตนเอง
เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
 ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
  มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
  ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ
 วิธีฝึกการพัฒนา EQ
  มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
  ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
  หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
  เวลาลูกทะเลาะกันอย่ามีอารมณ์ร่วม
  ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
  ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
  ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
  เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
  ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
  การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
  ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน
AQ=ADVERSITY QUOTIENT คือความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤติ
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน 
 เทคนิคการสร้าง AQ : ความสามารถในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เป็นกลไกของสมอง เกิดจากการฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝนการพัฒนา AQ
  การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
  การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
  สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
  ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
    หลักการสร้าง
  • Control ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
  • Ownership ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
  • Reach คิดว่าทุกประเภทมีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
  • Endurance มีความทนทานอดทนต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม
  • Training คือการได้รับฝึกฝนแต่เยาว์วัยในการแก้ปัญหา และเผชิญอุปสรรคตามวัยและศักยภาพ
      สรุปการเพิ่ม AQ
  มีสติตลอดเวลา ใช้สติในการแก้ไข
  คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
  มองโลกในแง่ดี
  เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
MQ = Moral quotient จริยธรรม คุณธรรม
      วิธีฝึกฝน
  มีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น
  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
  วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
  ประถมปลาย มัธยม สอยหลักธรรม ตัวอย่างดี ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือดูแลรุ่นน้องๆ ช่วยงานครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
  ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะเด็ก 0-5 ขวบ
  ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ควรได้รับการกล่อมเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฟังธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
    SQ = Social quotient ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน
  ได้เล่นกับเพื่อนในวัยเด็กเล็กๆ
  เด็กโตได้ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือทำงานหาเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในชีวิต
  คบเพื่อนๆที่หลากหลาย
  เรียนรู้สังคม ข่าวสารต่างๆ รอบตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวเราในบางข่าว
    หมายเหตุ
    IQ ส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ และปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 0 - 5 ปี ส่วน EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า  และได้ทุกอายุ
แหล่งข้อมูล: "คู่มือวิทยากรโรงเรียนพ่อแม่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข" กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข      กุมภาพันธ์ 2547.การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย[Online] Available :

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์โครงการไข่

วิเคราะห์โครงการไข่
1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ผลการทดลองจัดประสบการณ์แบบโครงการของแต่กลุ่มในประเด็นสำคัญดังนี้
1.1 ชื่อโครงการไข่
ผู้ดำเนินการทดลอง
1.นางสาง             อลิสา       ศรีไชย   รหัส  405210061
2.นางสาว             รุสมีนีย์     ลาแซ    รหัส  405210080
                1.2 จุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
         จากการทำโครงการไข่ เด็กได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้แต่ละด้านดังต่อไปนี้
-ด้านร่างกาย
1.เด็กสามารถร้องเพลงไข่- ประกอบท่าทางได้
2.เด็กสามารถวาดรูปไข่ตามจินตนาการได้
-ด้านอารมณ์-จิตใจ
1.เด็กสามารถทำกิจกรรมแล้วลดความตึงเครียด
2.เด็กสามารถทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
-ด้านสังคม
1.เด็กรู้จักการแบ่งปัน
2.เด็กสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
-ด้านสติปัญญา
1.เด็กสามารถบอกถึงรูปร่าง-ลักษณะของไข่
2.เด็กรู้จักประโยชน์ของไข่
1.3 ขั้นตอนและผลการดำเนินการแต่ละระยะและการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามจุดประสงค์ อธิบายให้ชัดเจน
การดำเนินการ
1.       ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ ครูและเด็กใช้เวลาในการพูดคุย สนทนา เพื่อค้นหาหัวข้อและคัดเลือกหัวข้อสำหรับทำโครงการไข่  ในระยะนี้เด็กบางคนยังไม่ประสบการณ์ ครูจึงควรเสนอหัวข้อที่คิดว่าเด็กน่าสนใจและมีคุณค่าต่อการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 โจทย์ปัญหา
-          เด็กๆ ทราบไหมว่าไข่มีลักษณะอย่างไร
-          วิธีการทำไข่ลูกเขยมีอะไรบ้าง
-          ถ้าเราไม่ระบายภาพด้วยสีเราจะใช้อะไรแทนได้บ้าง
-          ถ้าเราช่วยกันทำตุ๊กตา เราจะได้รับประโยชน์อย่างไร
-          วิธีการทำขนมปังชุบไข่มีอะไรบ้าง
       2. ระยะเริ่มต้นโครงการ เมื่อได้หัวข้อการทำโครงการเรื่องไข่แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันทำมายแม็บปิ้ง
 เรื่องไข่ในหัวข้อต่างๆ คุณครูและเด็กร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องไข่
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์เดิมของเด็ก
-          เด็กได้เสนอความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับไข่ 
ขั้นที่ 4 คำถามที่เด็กตั้งคำถามขึ้น
                - ไข่มีประโยชน์อย่างไร
                -  ทำไมเราต้องทานไข่
                -  เปลือกไข่สามารถทำอะไรได้บ้าง
ขั้นที่ 5 สมมติฐาน
                 ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมไข่เด็กก็จะเข้าใจวิธีการทำอาหารจากไข่ เด็กได้รู้จักรูปร่างลักษณะและประโยชน์ของไข่ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม
ขั้นที่ 6 เด็กค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ขั้นที่ 7 ออกแบบและลงมือทำกิจกรรม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.       เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของไข่
2.       เพื่อฝึกให้เด็กเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3.       เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการทำไข่ลูกเขย
4.       เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
วิธีดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ เป็นขั้นจูงความสนใจของเด็กๆเข้าสู่กิจกรรมให้เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้โดย ให้เด็กๆยืนเป็นวงกลม ร้องเพลงไข่พร้อมๆกัน พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบ คุณครูถามรูปร่าง-ลักษณะ, ประโยชน์ของไข่แล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ

ขั้นสอน 1. คุณครูถาม อุปกรณ์ในการทำไข่ลูกเขย แล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ
2.ให้เด็กๆ นำไข่ไปต้มโดยมีคุณครูอธิบายและควรช่วยเหลืออยู่
3.ให้เด็กๆช่วยกันแกะเปลือกไข่ออกใส่จาน
4.ให้เด็กๆนำไข่ไปทอด โดยคุณครูจะเป็นคนทอดให้
5.ตั้งหม้อบนเตา แล้วใส่น้ำประมาณ 1 ถ้วย แล้วใส่น้ำตาลแว่น, เกลือ , มะขามเปียก , ซีอิ้ว
6.ชิมรดตามใจชอบ ตักใส่จานพร้อมเสริบ
7.คุณครูและเด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป คุณครูถามประโยชน์ของไข่ลูกเขยแล้วให้เด็กๆ ตอบ
ครูและเด็กๆช่วยกันสรุปบทเรียน
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1.       ไข่
2.       เกลือ
3.       น้ำตาลแว่น
4.       ซีอิ้ว
5.       น้ำ
6.       น้ำมัน
การประเมินผล
1.       สังเกตจากการตอบคำถาม
2.       สังเกตจากการทำไข่ลูกเขย
3.       สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของเด็ก
ผลงานที่ได้จากกิจกรรม
-          ไข่ลูกเขย
ขั้นที่ 8 กำหนดคำตอบและผลพิสูจน์สมมติฐานของปัญหา
ผลการดำเนินกิจกรรม การทำไข่ลูกเขย
สมมติฐาน ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมไข่เด็กก็จะเข้าใจวิธีการทำอาหารจากไข่ เด็กได้รู้จักรูปร่างลักษณะและประโยชน์ของไข่ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม
คำตอบที่ได้ คือ จริง
สรุปสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้  จากการทำกิจกรรมเด็กได้เรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้
กิจกรรมที่1 มารู้จักไข่กันเถอะ จากกิจกรรมนี้เด็กๆได้รู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่  เด็กๆได้รู้จักประโยชน์ของไข่ และรู้จักไข่ชนิดต่างๆ เช่นไข่ไก่ , ไข่เป็ด , ไข่นกกระทา และเด็กๆยังสามารถวาดภาพตามจินตนาการได้
กิจกรรมที่ 2 วาดรูป ติดภาพด้วยเปลือกไข่จากกิจกรรมนี้เด็กทราบว่าถ้ารับประทานไข่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง  ไข่มีหลากหลายชนิดและมีขนาดรูปร่างแตกต่างกันซึ่งเปลือกไข่สามารถนำมาติดแปะเป็นรูปภาพตามจินตนาการได้
กิจกรรมที่ 3  ตุ๊กตาไล่ฝน จากกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำตุ๊กตาไล่ฝน  ซึ่งช่วยให้เด็กๆจะประหยัดค่าใช้จ่าย  เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่มเด็กรู้จักการแบ่งปันของเล่น  เด็กเกิดความสนุกสนาน เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำตุ๊กตาด้วยตัวเอง
กิจกรรมที่ 4 ทำอาหาร(ไข่ลูกเขย) จากกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำไข่ลูกเขย   เด็กเกิดความสนุกสนาน รู้จักช่วยเหลือกัน เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม  เด็กได้รับประทานไข่ลูกเขยอย่างอร่อยและมีความสุข
กิจกรรมที่ 5 ทำอาหาร(ขนมปังชุบไข่) จากกิจกรรมนี้เด็กๆได้ทราบวิธีการทำขนมปังชุบไข่  ทำให้เด็กรู้จักว่ามีส่วนผสมของการทำขนมปังชุบไข่   เด็กทราบถึงประโยชน์ของขนมปังชุบไข่  เด็กเกิดความสนุกสนานในการทำขนมปังชุบไข่ เด็กได้รับประทานขนมปังชุบไข่อย่างอร่อยและมีความสุข
1.4    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ระยะเวลาที่ทำการทดลอง
เด็กอนุบาลปีที่ 1/1, เด็กอนุบาลปีที่ 2/1 จากโรงเรียนโกตาบารู อำเภอรามัน   จังหวัดยะลา
เด็กอนุบาลปีที่ 3/1  จากโรงเรียนรัชตะวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา