วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็ก

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย
พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกเติบโตเป็นคนดี ฉลาด มีความสุขประสบความสำเร็จในการศึกษาและหน้าที่การงาน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการที่บุคคลจะประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น นอกจากจะมีความฉลาดทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ด้วย
      IQ = Inteligence quotient หมายถึงความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-100 เป็นการวัดความสามารถทางคิด วิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆเช่น ความคิดสร้างสรรค์ ,ทักษะต่างๆในการทำงาน, ทักษะชีวิตประจำวันฯลฯ
การพัฒนา IQ  
         • 50% จากกรรมพันธุ์
         • 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน       อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ ,     ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
EQ = Emotional quotient คือความฉลาดทางอารมณ์
  การพัฒนา EQ คือ
รู้อารมณ์ของตนเอง
เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
 ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
  มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
  ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ
 วิธีฝึกการพัฒนา EQ
  มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
  ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
  หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
  เวลาลูกทะเลาะกันอย่ามีอารมณ์ร่วม
  ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
  ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
  ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
  เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
  ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
  การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
  ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน
AQ=ADVERSITY QUOTIENT คือความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤติ
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน 
 เทคนิคการสร้าง AQ : ความสามารถในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เป็นกลไกของสมอง เกิดจากการฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย
การฝึกฝนการพัฒนา AQ
  การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
  การฝึกทำกิจกรรมต่างๆ
  สัมผัสกับชีวิตจริง ให้เด็กช่วยตัวเอง หัดทำงานตามวัย
  ให้เด็กเผชิญกับอุปสรรคบ้าง
  เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เริ่มให้รู้จักช่วยงานพ่อแม่ ธุรกิจของพ่อแม่ หรือแม้แต่การรับจ้างทำงานในช่วงวัยรุ่น ฝึกหาประสบการณ์ ตามที่ต่างๆช่วงหยุดปิดเทอม
    หลักการสร้าง
  • Control ควบคุมเหตุการณ์/สถานการณ์ได้
  • Ownership ความเป็นเจ้าของปัญหาอยู่ที่ตัวเรา
  • Reach คิดว่าทุกประเภทมีทางแก้ไข ไม่ใช่จบสิ้นแล้วทุกอย่าง
  • Endurance มีความทนทานอดทนต่อปัญหาต่างๆ มองโลกในแง่ดี ไม่วู่วาม
  • Training คือการได้รับฝึกฝนแต่เยาว์วัยในการแก้ปัญหา และเผชิญอุปสรรคตามวัยและศักยภาพ
      สรุปการเพิ่ม AQ
  มีสติตลอดเวลา ใช้สติในการแก้ไข
  คิดว่าทุกอย่างมีทางออก
  มองโลกในแง่ดี
  เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส
MQ = Moral quotient จริยธรรม คุณธรรม
      วิธีฝึกฝน
  มีตัวอย่างที่ดีๆให้เห็น
  ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตั้งแต่เล็กๆ ก่อนวัยอนุบาล อาจจะเป็นในรูปนิทาน
  วัยอนุบาล ประถมต้น เล่านิทานสอนใจ ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
  ประถมปลาย มัธยม สอยหลักธรรม ตัวอย่างดี ช่วยบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน โรงเรียนด้อยโอกาส ช่วยสอนหนังสือหรือดูแลรุ่นน้องๆ ช่วยงานครู สอนเพื่อนๆที่อ่อนกว่า
  ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นทำร้ายผู้อื่น พูดจาหยาบคาย ขโมย โดยเฉพาะเด็ก 0-5 ขวบ
  ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ควรได้รับการกล่อมเกลาจิตใจอย่างสม่ำเสมอ เช่น ฟังธรรมเป็นประจำทุกสัปดาห์
    SQ = Social quotient ทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน
  ได้เล่นกับเพื่อนในวัยเด็กเล็กๆ
  เด็กโตได้ทำกิจกรรมกลุ่ม หรือทำงานอื่นๆร่วมกับเพื่อนๆ หรือทำงานหาเงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อหาประสบการณ์ในชีวิต
  คบเพื่อนๆที่หลากหลาย
  เรียนรู้สังคม ข่าวสารต่างๆ รอบตัว เพื่อเป็นอุทาหรณ์แก่ตัวเราในบางข่าว
    หมายเหตุ
    IQ ส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ และปรับเปลี่ยนยาก เริ่มพัฒนาตั้งแต่ 0 - 5 ปี ส่วน EQ และ MQ ปรับเปลี่ยนได้ง่ายกว่า  และได้ทุกอายุ
แหล่งข้อมูล: "คู่มือวิทยากรโรงเรียนพ่อแม่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข" กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข      กุมภาพันธ์ 2547.การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย[Online] Available :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น