วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์โครงการไข่

วิเคราะห์โครงการไข่
1. ให้นักศึกษาวิเคราะห์ผลการทดลองจัดประสบการณ์แบบโครงการของแต่กลุ่มในประเด็นสำคัญดังนี้
1.1 ชื่อโครงการไข่
ผู้ดำเนินการทดลอง
1.นางสาง             อลิสา       ศรีไชย   รหัส  405210061
2.นางสาว             รุสมีนีย์     ลาแซ    รหัส  405210080
                1.2 จุดประสงค์เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
         จากการทำโครงการไข่ เด็กได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่วางไว้แต่ละด้านดังต่อไปนี้
-ด้านร่างกาย
1.เด็กสามารถร้องเพลงไข่- ประกอบท่าทางได้
2.เด็กสามารถวาดรูปไข่ตามจินตนาการได้
-ด้านอารมณ์-จิตใจ
1.เด็กสามารถทำกิจกรรมแล้วลดความตึงเครียด
2.เด็กสามารถทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน
-ด้านสังคม
1.เด็กรู้จักการแบ่งปัน
2.เด็กสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
-ด้านสติปัญญา
1.เด็กสามารถบอกถึงรูปร่าง-ลักษณะของไข่
2.เด็กรู้จักประโยชน์ของไข่
1.3 ขั้นตอนและผลการดำเนินการแต่ละระยะและการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามจุดประสงค์ อธิบายให้ชัดเจน
การดำเนินการ
1.       ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ ครูและเด็กใช้เวลาในการพูดคุย สนทนา เพื่อค้นหาหัวข้อและคัดเลือกหัวข้อสำหรับทำโครงการไข่  ในระยะนี้เด็กบางคนยังไม่ประสบการณ์ ครูจึงควรเสนอหัวข้อที่คิดว่าเด็กน่าสนใจและมีคุณค่าต่อการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 โจทย์ปัญหา
-          เด็กๆ ทราบไหมว่าไข่มีลักษณะอย่างไร
-          วิธีการทำไข่ลูกเขยมีอะไรบ้าง
-          ถ้าเราไม่ระบายภาพด้วยสีเราจะใช้อะไรแทนได้บ้าง
-          ถ้าเราช่วยกันทำตุ๊กตา เราจะได้รับประโยชน์อย่างไร
-          วิธีการทำขนมปังชุบไข่มีอะไรบ้าง
       2. ระยะเริ่มต้นโครงการ เมื่อได้หัวข้อการทำโครงการเรื่องไข่แล้ว ครูและนักเรียนร่วมกันทำมายแม็บปิ้ง
 เรื่องไข่ในหัวข้อต่างๆ คุณครูและเด็กร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องไข่
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์เดิมของเด็ก
-          เด็กได้เสนอความคิดและประสบการณ์เกี่ยวกับไข่ 
ขั้นที่ 4 คำถามที่เด็กตั้งคำถามขึ้น
                - ไข่มีประโยชน์อย่างไร
                -  ทำไมเราต้องทานไข่
                -  เปลือกไข่สามารถทำอะไรได้บ้าง
ขั้นที่ 5 สมมติฐาน
                 ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมไข่เด็กก็จะเข้าใจวิธีการทำอาหารจากไข่ เด็กได้รู้จักรูปร่างลักษณะและประโยชน์ของไข่ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม
ขั้นที่ 6 เด็กค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ขั้นที่ 7 ออกแบบและลงมือทำกิจกรรม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.       เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของไข่
2.       เพื่อฝึกให้เด็กเป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3.       เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการทำไข่ลูกเขย
4.       เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนาน
วิธีดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ เป็นขั้นจูงความสนใจของเด็กๆเข้าสู่กิจกรรมให้เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้โดย ให้เด็กๆยืนเป็นวงกลม ร้องเพลงไข่พร้อมๆกัน พร้อมทั้งทำท่าทางประกอบ คุณครูถามรูปร่าง-ลักษณะ, ประโยชน์ของไข่แล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ

ขั้นสอน 1. คุณครูถาม อุปกรณ์ในการทำไข่ลูกเขย แล้วให้เด็กๆช่วยกันตอบ
2.ให้เด็กๆ นำไข่ไปต้มโดยมีคุณครูอธิบายและควรช่วยเหลืออยู่
3.ให้เด็กๆช่วยกันแกะเปลือกไข่ออกใส่จาน
4.ให้เด็กๆนำไข่ไปทอด โดยคุณครูจะเป็นคนทอดให้
5.ตั้งหม้อบนเตา แล้วใส่น้ำประมาณ 1 ถ้วย แล้วใส่น้ำตาลแว่น, เกลือ , มะขามเปียก , ซีอิ้ว
6.ชิมรดตามใจชอบ ตักใส่จานพร้อมเสริบ
7.คุณครูและเด็กๆ ช่วยกันเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
ขั้นสรุป คุณครูถามประโยชน์ของไข่ลูกเขยแล้วให้เด็กๆ ตอบ
ครูและเด็กๆช่วยกันสรุปบทเรียน
สื่อ/อุปกรณ์/แหล่งเรียนรู้
1.       ไข่
2.       เกลือ
3.       น้ำตาลแว่น
4.       ซีอิ้ว
5.       น้ำ
6.       น้ำมัน
การประเมินผล
1.       สังเกตจากการตอบคำถาม
2.       สังเกตจากการทำไข่ลูกเขย
3.       สังเกตจากการร่วมกิจกรรมของเด็ก
ผลงานที่ได้จากกิจกรรม
-          ไข่ลูกเขย
ขั้นที่ 8 กำหนดคำตอบและผลพิสูจน์สมมติฐานของปัญหา
ผลการดำเนินกิจกรรม การทำไข่ลูกเขย
สมมติฐาน ถ้าเด็กได้ทำกิจกรรมไข่เด็กก็จะเข้าใจวิธีการทำอาหารจากไข่ เด็กได้รู้จักรูปร่างลักษณะและประโยชน์ของไข่ ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน  เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม
คำตอบที่ได้ คือ จริง
สรุปสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้  จากการทำกิจกรรมเด็กได้เรียนรู้ตรงตามจุดประสงค์ที่ได้วางไว้
กิจกรรมที่1 มารู้จักไข่กันเถอะ จากกิจกรรมนี้เด็กๆได้รู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของไข่  เด็กๆได้รู้จักประโยชน์ของไข่ และรู้จักไข่ชนิดต่างๆ เช่นไข่ไก่ , ไข่เป็ด , ไข่นกกระทา และเด็กๆยังสามารถวาดภาพตามจินตนาการได้
กิจกรรมที่ 2 วาดรูป ติดภาพด้วยเปลือกไข่จากกิจกรรมนี้เด็กทราบว่าถ้ารับประทานไข่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง  ไข่มีหลากหลายชนิดและมีขนาดรูปร่างแตกต่างกันซึ่งเปลือกไข่สามารถนำมาติดแปะเป็นรูปภาพตามจินตนาการได้
กิจกรรมที่ 3  ตุ๊กตาไล่ฝน จากกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำตุ๊กตาไล่ฝน  ซึ่งช่วยให้เด็กๆจะประหยัดค่าใช้จ่าย  เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่มเด็กรู้จักการแบ่งปันของเล่น  เด็กเกิดความสนุกสนาน เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ทำตุ๊กตาด้วยตัวเอง
กิจกรรมที่ 4 ทำอาหาร(ไข่ลูกเขย) จากกิจกรรมนี้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการทำไข่ลูกเขย   เด็กเกิดความสนุกสนาน รู้จักช่วยเหลือกัน เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม  เด็กได้รับประทานไข่ลูกเขยอย่างอร่อยและมีความสุข
กิจกรรมที่ 5 ทำอาหาร(ขนมปังชุบไข่) จากกิจกรรมนี้เด็กๆได้ทราบวิธีการทำขนมปังชุบไข่  ทำให้เด็กรู้จักว่ามีส่วนผสมของการทำขนมปังชุบไข่   เด็กทราบถึงประโยชน์ของขนมปังชุบไข่  เด็กเกิดความสนุกสนานในการทำขนมปังชุบไข่ เด็กได้รับประทานขนมปังชุบไข่อย่างอร่อยและมีความสุข
1.4    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ระยะเวลาที่ทำการทดลอง
เด็กอนุบาลปีที่ 1/1, เด็กอนุบาลปีที่ 2/1 จากโรงเรียนโกตาบารู อำเภอรามัน   จังหวัดยะลา
เด็กอนุบาลปีที่ 3/1  จากโรงเรียนรัชตะวิทยา  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น